|
|
|
|
วันอาทิตย์ที่ 8 - วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน 2552
ณ สำนักงานมูลนิธิกระต่ายในดวงจันทร์ และชุมชนหมู่ 3 อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี
หลังจากที่ทีมกิจกรรมวางแผน ปรับแผน ประชุมแผน สรุปแผน รวมถึงประชุมกับคุณครูที่โรงเรียน ทั้งในเรื่องแผนและการร่วมมือกันในกิจกรรม ที่จะเกิดขึ้นทั้งหมดแบบว่าเข้าใจกันเป็นก้อนเนื้อเดียวกันแล้ว (ฟังดูเหมือนเนื้อบดอะไรซักอย่าง)
...ก็ถึงเวลาได้ เริ่มทำตามแผนกันซักที...
...เปิดเทอมเทอม 2 ปีการศึกษา 2552 มาถึง...ทีมพี่เลี้ยงทั้ง 6 คน ในชุดปรับปรุงใหม่ พี่เอนิ พี่มะลิ พี่นกแก้ว พี่พรทิพย์ พี่แจ้ง และพี่มายเดก็ตะลุยเข้าไปหาน้องๆ เปิดรับสมัครเด็กระดับชั้น ป.4-ป.6 ที่สนใจอยากจะเป็น ดูแลธรรมชาติ กันอย่างจริงจัง มีทั้งการเขียนใบสมัคร ชวนคุย สัมภาษณ์ ประชุมคัดเลือกเด็ก ถามความเห็นจากคุณครูประจำชั้น และภายในสัปดาห์แรกของการเปิดเทอม ก็ได้น้องแกนนำมา 20 คน จาก 40 กว่าคน (เห็นมั๊ยว่าทำงานกันจริงจังขนาดไหน)
รายชื่อดังนี้
เด็กหญิงณัฐกานต์ แสวงดี ป.4/1, เด็กหญิงสุนิสา บุญมา ป.4/1, เด็กหญิงชลกานต์ วงศ์ทอง ป.5/2, เด็กชายศรีเมือง ทองดี ป.5/2, เด็กชายวิชัย บุญทิน ป.6/1, เด็กชายณรงค์ศักดิ์ อาจเอี่ยม ป.6/1, เด็กชายพิพัฒน์ แม่ตาล ป.6/1, เด็กชายสำเร็จ นารา ป.6/1, เด็กหญิงกล้วย ป.6/2, เด็กหญิงปิยะลักษณ์ โชติอุดม ป.6/1, เด็กหญิงกฤษณา สาธุ ป.6/2, เด็กหญิงนันทพร บุญใส ป.6/1, เด็กหญิงศิริรัตน์ วิจบ ป.6/1, เด็กหญิงนิศาชล คุ้งลึง ป.6/1, เด็กหญิงเจนจิรา ศรีดาวเรือง ป.6/1, เด็กหญิงอุมาภรณ์ คุ้งลึง ป.6/1, เด็กหญิงปราณี ในดวงจันทร์ ป.6/1, เด็กหญิงน้อด้า หงษ์สาวดี ป.6/2, เด็กหญิงสมพร ท๊อป ป.6/2, และเด็กหญิงพรสุดา เมืองพิน ป.6/1 |
|
|
เมื่อเห็นหน้าได้ตัวกันแล้ว ก็นัดแนะกันเข้าค่ายฉบับรู้จัก กันเลยในวันอาทิตย์ที่ 8 - วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน 2552 รวมเวลาทั้งสิ้น 3 วัน ที่ และในพื้นที่ชุมชนหมู่ 3 ละแวกบ้าน
8 โมงเช้า ได้เวลา พี่ๆ ทีมกิจกรรม พาน้องๆ ให้รู้จักคำว่ากันก่อนในวันแรกด้วยถ้าทุกคนมีเป้าหมายในการมาร่วมกันครั้งนี้เพื่อที่จะดูแลธรรมชาติกิจกรรมรู้จักตัวเองก็เป็นการบอกให้รู้คุณสมบัติ
ของการเป็นแกนนำที่ดี ว่าควรและไม่ควรทำอะไรบ้าง วิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของตัวเอง ข้อที่ดีรักษาไว้ข้อเสียก็ปรับปรุงไม่ใช่การทับถมข่มกัน
การฝึกใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 6 ของตนในการสัมผัสกับธรรมชาติในทุกมิติ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย และที่สำคัญที่สุด คือ ใจ)
เป็นการ 'เปิด' ที่จะรับรู้ เรียนรู้ ธรรมชาติ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งพื้นฐานของการเป็นแกนนำที่สำคัญ เพราะเราจะดูแลธรรมชาติไม่ได้เพราะใครบอกต่อมาให้ทำอีกที
|
นอกจากนี้ คำว่าก็เป็นปฏิบัติการอีกอันหนึ่งที่เด็กๆ ได้เรียนรู้ในค่ายครั้งนี้ แต่เป็นการทดลองที่ประกอบไปด้วย ท=ท้าทายให้ตั้งคำถาม, ด=เดา/คาดเดา, ล=ลงมือทำ, อ=อภิปราย/สรุปผล, ง=งดงามเมื่อนำเสนอ ปฏิบัติการตามล่าหาคำว่า 'ทดลอง' ได้ผลลัพธ์เป็นความรู้แบบฉบับของแต่ละคน ความรู้ที่สรุปได้ออกมาเป็นความรู้ที่เกิดขึ้นจากการสัมผัสตรงของตัวเอง เป็นความรู้ที่ไม่มีใครยัดเยียดให้ ทุกคนคิดเอง หาเอง ตอบเอง และในทุกๆ ขั้นตอนของพี่ๆ ย่อมพาน้องให้เรียนรู้สิ่งเหล่านี้ด้วยความสนุก...นั่นคือสูตรหลักที่ขาดไม่ได้ของโครงการนี้
วันที่สองของกิจกรรมคือการสำรวจชุมชน สัมภาษณ์พ่อเฒ่าแม่แก่ ถามไถ่วิถีของแต่ละบ้าน อยู่กินกันยังไง มีอาหารจานหลักคืออะไร แล้วอาชีพล่ะ ประเพณีท้องถิ่นกระเหรี่ยง อะไรบ้าง เสื้อผ้าหน้าผมของชาวกระเหรี่ยงใส่แบบไหน ธรรมชาติกินได้มีมั๊ย แล้วเอามาบอกเล่า ลองทำกับข้าวท้องถิ่น พี่อ้นคนถ่ายภาพนิ่งกิจกรรมครั้งนี้ถึงกับแอบบอก 'อาหารน่ากลัวมากพี่' แต่ก็ไม่มีใครท้องเสียจากการนี้ รอดตัวไป ค่ำคืนนั้นจัดเป็นงานแสดงบอกเล่าที่เรียนรู้ ปาร์ตี้เล็กๆ กินอาหารที่ทำกันเองกับเครื่องดื่มสมุนไพรเด็กๆ สนุกสนาน หัวเราะ เล่นละครบอกเล่าเรื่องราวกันเต็มที่ ทั้งหาชุดประยุกต์กันเองเสร็จสรรพ น่าอัศจรรย์
เช้าวันที่สามของกิจกรรมพี่ๆ พาไปดูพื้นที่สวนป่า ที่ ผู้ใหญ่ในชุมชนดูแลอยู่ให้กับที่เป็นผู้สนับสนุนการปลูกต้นไม้ในชุมชนกว่า 20,000 ต้น กินพื้นที่เกือบ 20 ไร่ ต้นไม้ในสวนป่าที่ลุงไจดูแลอยู่ เริ่มโตใหญ่สวยงาม เด็กๆ ถามตอบกับลุงไจอยู่จนได้ความว่า เด็กๆ ก็ทำได้ การดูแลต้นไม้ป่าไม้ไม่ใช่เรื่องของผู้ใหญ่อย่างเดียว วันนี้ต้นไม้ยังต้นแค่นี้ แต่อีก 10-20 ปี พอต้นไม้มันใหญ่ มันมีแต่ได้กับได้กับชุมชนเรา ยิ่งเด็กๆ ทำตั้งแต่วันนี้ยิ่งดีใหญ่เลย' เด็กๆ กลับบ้านไปพร้อมกับไฟดวงเล็กๆ ที่ถูกจุดไว้ในใจ พร้อมรอปฏิบัติการในครั้งหน้า เร็วๆ นี้ |
|
|
|
|
|