Rabbit in the Moon ลงทะเบียนใหม่สำหรับเข้าเว็บไซต์   |   เข้าสู่ระบบ English
หน้าแรก รู้จักเรา โครงการ กิจกรรม เรื่องราวธรรมชาติ กระดานดำ ร่วมมือกัน   ติดต่อเรา
 
ร้านมูลนิธิกระต่ายในดวงจันทร์ กระต่ายในดวงจันทร์
ทีวีสินแร่จิ๋วแต่แจ๋ว
11 – 12 กรกฎาคม 2552
กิจกรรมเรียนรู้นอกสถานที่ (Field Trip): อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี
แก่นสาระ (จุดประสงค์): วิถีชีวิต (เกษตรกรรม เลี้ยงโคนม การท่องเที่ยว) กับธรรมชาติ (ป่าไม้ ลำน้ำ ถ้ำ)
ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
น.ส.ธนันดา เทพสิงห์ (แก้ว) สาขานิเทศศาสตร์ เอกวิทยุและโทรทัศน์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ปี3) มหาวิทยาลัยศิลปากร นายจิรัชย์ ไพบูลย์วงศ์เจริญ (เต้) สาขาทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ (ปี4) มหาวิทยาลัยกรุงเทพ นายภควัต ทวีปวรเดช (เต่า) สาขาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ (ปี3) มหาวิทยาลัยมหิดล น.ส.สุทธิพร เรืองฤทธิศักดิ์ (แม้ว) สาขาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (ปี2) พระจอมเกล้าพระนครเหนือ น.ส.นันทพร สุทธิพงษ์ไกวัล (ป่าน) สาขาBBA in hotel management คณะวิทยาลัยนานาชาติ (ปี2) มหาวิทยาลัยศิลปากร นายณัฐดนัย บุตรา(ฟีน) สาขาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และระบบคอมพิวเตอร์ ภาควิชาไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (ปี2) มหาวิทยาลัยศิลปากร นายโชคนิธิ คงชุ่ม (เก่ง) สาขาชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ คณะวิทยาศาสตร์ (ปี2) มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี น.ส.ธนาลัย พูลศิริ (หยิน) สาขาวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ (ปี2) มหาวิทยาลัยมหิดล น.ส.ชรินรัตน์ ขุนขำ (จูน) สาขานิเทศศาสตร์ เอกวารสารและหนังสือพิมพ์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ปี3) มหาวิทยาลัยศิลปากร
น.ส.พรพิมพ์ แซ่ลิ้ม (จิ๋ง) สาขานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ (ปี2) มหาวิทยาลัยรามคำแหง น.ส.สิรวดี ภควลีธร (กี้) ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร (ปี4) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ น.ส.ประภาพัชร ชุณหวรากรณ์ (บับเบิ้ล) สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ (ปี2) พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง น.ส. สุภัชญา เตชะชูเชิด (แอน) สาขาชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ (ปี2) มหาวิทยาลัยมหิดล น.ส.สิรินภรณ์ แสนสมบัติ (แป้ง) สาขาบัญชี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี (ปี4) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายปฐวี อินทรอภัยพงษ์ (ดรีม) เอกศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์ (ปี2) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย น.ส.ปรียาภรณ์ ไทยศรีวงศ์ (แบงค์) สาขาการโค้ชกีฬาและจิตวิทยาการกีฬา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา (ปี4) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายนัฐพล พงศ์นราทิพย์ (ต๊อบ) สาขาทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ (ปี4) มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
น.ส.วรรณวลัย ชอบอิสระ (นิว) คณะทันตแพทยศาสตร์ (ปี2) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย น.ส.วรรณเพ็ญ แซ่เปี่ยน (ฟาง) สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสาตร์ (ปี3) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายปิติบดี ระวียันต์ (บอล) สาขาทัศนศิลป์ - ศิลปะจินตคณะศิลปกรรมศาสตร์ (ปี4) มศว. น.ส.ปัทมปาณี สมัครการ (ดิว) ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ (ปี2) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายณัฐวัฒน์ ธีระเลิศธรรม (ท๊อป) international studies-Relation, Social Science (ปี3) Mahidol University International College นายไชยวิทย์ ดาราประดิษฐ์ (วิทย์) สาขาการตลาดและโลจิสติกส์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี (ปี3) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย    


เหตุการณ์/กิจกรรมที่เกิดขึ้น

ออกเดินทางตอนกลางคืนวันที่ 10 ก.ค. ถึงที่พัก “เขามะกอกฟาร์มสเตย์” ประมาณสี่ทุ่มก็แยกย้ายกันเก็บสัมภาระตามเต็นท์ ที่พักเป็นเต็นท์หลังใหญ่แต่นอนได้ 2-3 คน ด้านหน้าของเต็นท์มีพื้นที่สำหรับไว้นั่งชมวิวหรือห้องห้องนั่งเล่นเล็กๆที่มีโต๊ะตัวเล็กตั้งคู่กับเก้าอี้ไม้สองตัว อีกส่วนหนึ่งของเต็นท์เป็นห้องนอนที่มีเตียงนอนเดียวสองเตียงตั้งข้างใน มีโต๊ะหัวเตียงคั้นกลาง ดูแล้วเหมือนอยู่ในโรงแรมเลย
หลังจากเก็บสัมภาระ อาบน้ำกันเรียบร้อยก็มารวมพลกันที่ที่ทานอาหาร เพื่อที่จะฟังลุงอ๋อยเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับพื้นที่ที่เรามาทริปครั้งนี้ซึ่งใช้เวลาหนึ่งชั่วโมง จากนั้นแยกย้ายกันไปนอน

11 ก.ค.: เราตื่นกันแต่เช้าเพื่อไปดูการสาธิตรีดนมวัว พี่ประกิตเป็นเจ้าของฟาร์มนี้ซึ่งเป็นคนอธิบายเรื่องราวของฟาร์มนม ฟาร์มนี้เป็นแหล่งผลิตนม bed time ซึ่งจะรีดนมวัวช่วงแรกตอนตีสามเพราะช่วงเวลานั้นสารเนลาโทนินจะไม่โดนแดดและไม่สูญสลายไป (สารเนลาโทนินจะหายไปหากโดนแสงอาทิตย์) น้องๆหลายคนสนใจอยากจะมาดูพี่ประกิตรีดนมวัวตอนตีสาม จากนั้นพี่ประกิตให้ตัวแทนน้องสี่คนได้รีดนมวัว
จากนั้นเดินกลับมายังที่พักเตรียมตัวไปล่องแก่งที่ลำน้ำมวกเหล็กเพื่อตามหาตัวตะกอง อาหารเช้าที่ทานเป็นข้าวต้มร้อนๆกินคู่กับหมูผัดกับหนำเลียบ ผัดหัวไชโป๊และไก่ผัดขิง เมนูเด็ดของเช้านี้คือ นมสดร้อนๆที่มาจากฟาร์มทานคู่กับปาท่องโก๋
การล่องแก่งครั้งนี้เป็นการมาตามหาตัวตะกองซึ่งเมื่อคืนลุงอ๋อยได้เล่าเรื่องตัวตะกองให้ฟังบ้างแล้ว วันนี้เลยพาน้องๆมาดูตัวจริง มีเรือยางขนาดกลางนั่งได้ห้าคน (รวมคนเรือด้วย) ลงเรือได้ไม่ถึงห้านาที คนเรือก็ชี้ให้ดูตัวตะกองตัวแรกที่ออกจะมองเห็นยากเพราะมีกิ่งไม้บัง ทุกคนดูตื่นเต้นมาก พอล่องเรือไปอีกสักพักก็เจอตะกองอีก แต่เรือบางลำก็อาจจะพลาดไม่เห็นตะกองหลายตัว เพราะบางทีคนเรือก็เอาเรือไปกระแทกกับชายฝั่งเพราะเบรกเรือไม่อยู่ เลยเป็นที่น่าเสียดายสำหรับน้องบางคน ระหว่างที่ล่องแก่งก็จะมีขั้นบันไดน้ำสูงบ้างต่ำบ้างไว้สร้างความตื้นเต้นสนุกๆด้วย
เราล่องมาถึงปลายทาง ระหว่างที่รอรถมารับกลับ เต้ บอล ต๊อบ ฟีน เก่ง เต่า วิทย์ แอน หยิน แก้ว และจูนก็กระโดดลงเล่นน้ำใสๆเย็นๆในลำน้ำมวกเหล็ก ดูน้องๆสนุกสนานกันมากดำผุดดำว่ายกันใหญ่ มองไกลๆเห็นหัวดำเป็นจุดๆ ดูไปดูมาคล้ายตัวตะกองเหมือนกัน
จากนั้นนั่งรถแบบเปียกๆไปน้ำตกเจ็ดสาวน้อยซึ่งลุงอ๋อยอยากให้น้องๆ ได้เห็นถึงการใช้ประโยชน์ของลำน้ำมวกเหล็ก วันที่ไปคนไม่ค่อยเยอะมากแม้จะเป็นวันเสาร์ซึ่งอาจจะเป็นเพราะเพิ่งจะผ่านช่วงวันหยุดยาวมา ลานจอดรถเลยดูบางตาไป ที่ทางเขาไปยังน้ำตกมีป้ายติดไว้ว่า “ห้ามนำอาหารเข้าไปรับประทาน” แต่ก็เห็นกลุ่มคนถืออาหารเข้าไปทานกันมากมาย โดยเฉพาะริมน้ำตกที่มีลานกว้าง มีต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงาถือเป็นทำเลทองสำหรับนั่งทานอาหารริมน้ำ ที่แปลกประหลาดมากเลยคือ มีครอบครัวหนึ่งกำลังทำหมูกระทะกิน มีหนุ่มสาวเล่นน้ำตกกันจำนวนมากดูคึกคัก ขากลับระหว่างที่เดินออกจากน้ำตก สังเกตเห็นทางด้านซ้ายของทางออกมีถังขยะจำนวนมากตั้งเรียงรายกัน
ตอนกลางวันเรามาทานข้าวกลางวันที่ “มวกเหล็ก ATV” ซึ่งเราจะใช้สถานที่นี้กันทำกิจกรรมในตอนบ่าย อาจจะเนื่องด้วยจำนวนคนที่มาสั่งข้าวเยอะมากทำให้อาหารที่สั่งได้ล่าช้ามาก น้องบางคนเลยไปทำกิจกรรมที่เราจัดไว้ให้เลือกสามอย่างคือ ปีนหน้าผาจำลอง โรยตัวหรือขับ ATV ซึ่งสามารถเลือกไว้ได้สองในสามอย่าง ระหว่างนั้นอาหารที่สั่งก็เริ่มได้บ้าง ใครได้แล้วก็กินแล้วก็ไปทำกิจกรรม ดูน้องๆสนุกกับกิจกรรมทุกอย่าง น้องๆหลายคนสามารถปีนหน้าผาไปจนถึงจุดสูงสุด แม้จะไปต่อไม่ไหวแต่ก็พยายามไปให้ถึงเพราะได้(แรง)เสียงกดดันจากเพื่อนๆที่อยู่ข้างล่าง หลายๆคนทำกิจกรรมครบทั้งสองอย่างก็มานั่งรอเพื่อนที่เหลือที่ร้านอาหาร ส่วนพี่ๆที่ยังอยากทำกิจกรรมด้วยก็หนีไปเล่นบ้าง
เสร็จกิจกรรมที่มวกเหล็ก ATV เดินทางไปยังไร่องุ่นสิรวัฒน์ ลงจากรถก็เห็นน้องๆรุมที่โต๊ะที่มีพายองุ่นและพวงองุ่น มีพี่ผู้ชายคนหนึ่งกำลังอธิบายเรื่องราวเกี่ยวกับไร่องุ่น การเลือกองุ่น น้องบางคนก็ตั้งใจฟัง บางคนก็ตั้งใจกิน องุ่นที่ปลูกที่นี่เป็นพันธุ์ black peal ลูกจะมีขนาดเล็กกว่าองุ่นแดงที่ขายในห้าง ดูชักชวนให้น่าเด็ดลูกออกจากพวงมาใส่ปากจริง ชิมพาย ชิมองุ่นกันไปมากเลยซื้อองุ่นสดๆที่เพิ่งตัดไปเป็นของฝากกัน กลับมาถึงที่พักแบบอิ่มๆก็แยกวงสนทากลุ่มย่อยกันตามจุดต่างๆในที่พัก หลังจากพูดคุยแลกเปลี่ยนกันยกใหญ่ก็มีนมอร่อยๆจากร้านแดรี่โฮมมาให้ดื่มกันก่อนนอน หลังจากที่บางกลุ่มจบการพูดคุยกลุ่มย่อย (ยกเว้นกลุ่มของลุงอ๋อยที่ยังไม่จบง่ายๆ) ก็มีพายุฝนกระหน่ำมา ทำให้แต่ละคนวิ่งหนีแทบไม่ทัน

12 ก.ค.: กิจกรรมสำรวจถ้ำพระโพธิ์สัตว์ มีพี่กื้อซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญการสำรวจถ้ำจะพานำทาง จบด้านภูมิศาสตร์มาและมีความสนใจเกี่ยวกับเรื่องการสำรวจธรรมชาติ พี่กื๋อผ่านการทำงานวิจัยเกี่ยวกับถ้ำมามาก ร่วมงานกับชาวต่างชาติมาเยอะและเคยนำทีมชาวไทยไปพิชิตยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก... ยอดเขาเอเวอเลสต์... ดังนั้นแล้วพวกเราเชื่อในฝีมือของพี่กื๋อได้แน่นอน ความรู้ที่พี่กื๋อให้กับเราก็นับว่ามีประโยชน์และมีความรู้มาก ถือเป็นความรู้แปลกใหม่
ก่อนจะเข้าถ้ำต้องมีการเตรียมพร้อมในระดับสูงสุด คือ มีหมวกซึ่งหมวกที่ให้ใส่เป็น hamlet เหมือนกับหมวกที่วิศวกรใส่เวลาเข้าไปใน side งาน มีถุงมือให้ใส่และไฟฉายติดหัวและเหน็บแบตเตอรี่ไว้ข้างเอว กว่าจะใส่หมวก ใส่ถุงมือ เตรียมตัวกันก็ดูวุ่นวายกันเล็กน้อย ก่อนที่จะเดินไปที่ปากทางเข้าถ้ำ
ทุกคนตื่นตาตื่นใจกันปากทางเข้าที่มีขนาดใหญ่มาก จะลงไปปากถ้ำก็ต้องปีนลงไป พี่กื๋อหยุดรอและอธิบายสภาพถ้ำให้ฟัง แล้วเราก็เริ่มต้นการเดินทาง เดินเข้าไปไม่ไกลก็ต้องเดินลุยน้ำกัน ถึงน้ำที่เดินลุยจะดูขุ่นแต่น้ำเย็นมาก รู้สึกถึงน้ำที่ไหลเข้ามาในรองเท้าผ้าใบ เดินไปอีกนิดก็ต้องลอดรูที่มีขนาดเล็กพอดีตัว น้องบางคนอย่างบอลที่ลอดไม่ได้ก็ต้องปีนขึ้นซึ่งก็ทุลักทุเลาพอควร การเดินสำรวจถ้ำนึกว่าจะเดินกันง่ายๆสบายๆเพราะทางเดินบางจุดก็ราบเรียบไม่มีอะไรเลย ก็มีแต่หินก้อนๆเรียงรายบนพื้นซึ่งก็ต้องเดินอย่างระวังไม่อย่างนั้นลื่นหัวฟาดหินแน่ๆ แต่บางจุดนี้ก็ทรหดเลยทีเดียว จุดที่ทำให้ทุกคนชะลอการเดินคือจุดที่มีหินยื่นออกมาและด้านล่างเป็นแอ่งน้ำที่ไม่รู้ว่าลึกแค่ไหน บางคนเลือกที่จะเดินลุยน้ำไปก็มี บางคนใช้วิธีโอบหินที่ยื่นออกมา บางคนใช้วิธีการปีนขึ้นไปบนหิน คงจะทุลักทุเลาและสาหัสสำหรับทุกๆคน ระหว่างที่เดินไปในถ้ำ สังเกตเห็นหินในบางจุดของถ้ำถูกเคลือบไปด้วยโคลนสีน้ำตาลที่ดูคล้ายกับสีของช็อกโกแลต
และก็มาถึงจุดหนึ่งภายในถ้ำที่พี่กื๋อให้เราทุกคนปิดไฟฉาย เพื่อที่จะได้สัมผัสว่าความมืดในถ้ำเป็นอย่างไร ทันทีที่ไฟดวงสุดท้ายดับลง ทุกอย่างก็มืดสนิท สนิทจริงๆราวกับหลับตาทั้งๆที่ลืมตาอยู่ แม้จะลืมตาแล้วก็ยังมองไม่เห็นคนที่ยืนอยู่ข้างหน้า มันเป็นความมืดที่ไม่เคยประสบมาก่อน...อย่างนี้ถึงจะเรียกว่ามืดสนิท สุดท้ายเราเดินมาถึงปากทางออก จริงๆพี่ staff มวกเหล็ก ATV บอกว่าเราเดินย้อนเส้นทางกันมา จริงๆแล้วคนที่มาจะเข้ามาทางที่เราออก ทางออกของเราเลยดูลำบากกว่าตอนเข้ามาที่ต้องปีนหินปีนดินขึ้นไปบนปากถ้ำเรียกได้ว่า กิจกรรมปีนหน้าผาจำลองที่ให้เล่นกันเมื่อวานนี้มีประโยชน์จริงๆ และจริงๆแล้วหากปริมาณน้ำไม่สูงมากเราก็คงได้เดินลุยน้ำออกไปอีกทาง (ทางที่ไม่ต้องปีนออกไป)
ก่อนจะเข้าที่พักเราแวะไปดูน้ำผุดที่เป็นต้นน้ำของลำน้ำมวกเหล็ก จากนั้นกลับที่พัก อาบน้ำล้างตัว เก็บกระเป๋าเพื่อเตรียมตัวกลับบ้าน ระหว่างที่รอรถตู้มารับพี่แบดเลยอาศัยเวลาว่างนั้นเฉลยเกมที่ให้น้องๆเล่น ข้อความที่น้องๆได้รับก็มีแตกต่างกันออกไปแต่ก็ไม่ผิดเพี้ยนมากนัก สุดท้ายพี่แบทเลยให้จิ๋งเฉลยเพราะจิ๋งเป็นคนรับข้อความจากพี่แบทคนแรก จากนั้นลุงเลยชวนคุยกลุ่มย่อย คุยกันว่าวันนี้รู้สึกกันอย่างไรบ้าง
กิจกรรมสุดท้ายของทริปที่แสนที่เหนื่อยล้านี้คือการพูดคุยกับลุงตั้ม เจ้าของร้านแดรี่โฮมที่น้องๆชื่นชอบกันมาก ลุงตั้มมาเล่าให้ฟังว่า เริ่มกิจการได้อย่างไรและมีวิธีการดำเนินกิจการอย่างไร ไม่รู้ว่าน้องๆเหนื่อยกันหรือลุงตั้มพูดยาว น้องๆเลยมีท่าทีเหนื่อยๆเหมือนจะหลับกันซึ่งบางคนก็แอบงีบไปแล้ว พอลุงตั้มบอกว่า ไปกินข้าวได้ ทุกคนก็ตื่นเลยทันที เราได้สเต็กและไอศกรีมอภินันทนาการจากลุงตั้ม กินกันอย่างเอร็ดอร่อยมาก




ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

1. น.ส.ธนันดา เทพสิงห์ (แก้ว) สาขานิเทศศาสตร์ เอกวิทยุและโทรทัศน์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ปี3) มหาวิทยาลัยศิลปากร

2. นายจิรัชย์ ไพบูลย์วงศ์เจริญ (เต้) สาขาทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ (ปี4) มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
3. นายภควัต ทวีปวรเดช (เต่า) สาขาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ (ปี3) มหาวิทยาลัยมหิดล
4. น.ส.สุทธิพร เรืองฤทธิศักดิ์ (แม้ว) สาขาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (ปี2) พระจอมเกล้าพระนครเหนือ
5. น.ส.นันทพร สุทธิพงษ์ไกวัล (ป่าน) สาขาBBA in hotel management คณะวิทยาลัยนานาชาติ (ปี2) มหาวิทยาลัยศิลปากร
6. นายณัฐดนัย บุตรา(ฟีน) สาขาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และระบบคอมพิวเตอร์ ภาควิชาไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (ปี2) มหาวิทยาลัยศิลปากร
7. นายโชคนิธิ คงชุ่ม (เก่ง) สาขาชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ คณะวิทยาศาสตร์ (ปี2) มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี
8. น.ส.ธนาลัย พูลศิริ (หยิน) สาขาวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ (ปี2) มหาวิทยาลัยมหิดล
9. น.ส.ชรินรัตน์ ขุนขำ (จูน) สาขานิเทศศาสตร์ เอกวารสารและหนังสือพิมพ์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ปี3) มหาวิทยาลัยศิลปากร
10. น.ส.ธันธิมา สุวรรณถาวรกุล (เน็ท) คณะเภสัชศาสตร์ (ปี3) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
11. น.ส.พรพิมพ์ แซ่ลิ้ม (จิ๋ง) สาขานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ (ปี2) มหาวิทยาลัยรามคำแหง
12. น.ส.สิรวดี ภควลีธร (กี้) ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร (ปี4) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
13. น.ส.ประภาพัชร ชุณหวรากรณ์ (บับเบิ้ล) สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ (ปี2) พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
14. น.ส. สุภัชญา เตชะชูเชิด (แอน) สาขาชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ (ปี2) มหาวิทยาลัยมหิดล
15. น.ส.สิรินภรณ์ แสนสมบัติ (แป้ง) สาขาบัญชี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี (ปี4) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
16. นายปฐวี อินทรอภัยพงษ์ (ดรีม) เอกศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์ (ปี2) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
17. น.ส.ปรียาภรณ์ ไทยศรีวงศ์ (แบงค์) สาขาการโค้ชกีฬาและจิตวิทยาการกีฬา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา (ปี4) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
18. นายนัฐพล พงศ์นราทิพย์ (ต๊อบ) สาขาทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ (ปี4) มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
19. นายเจษฎา อิงอมรรัตน์ (โฟน) สาขาทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ (ปี4) มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
20. น.ส.วรรณวลัย ชอบอิสระ (นิว) คณะทันตแพทยศาสตร์ (ปี2) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
21. น.ส.วรรณเพ็ญ แซ่เปี่ยน (ฟาง) สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสาตร์ (ปี3) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
22. นายปิติบดี ระวียันต์ (บอล) สาขาทัศนศิลป์ - ศิลปะจินตคณะศิลปกรรมศาสตร์ (ปี4) มศว.
23. น.ส.ปัทมปาณี สมัครการ (ดิว) ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ (ปี2) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
24. นายณัฐวัฒน์ ธีระเลิศธรรม (ท๊อป) international studies-Relation, Social Science (ปี3) Mahidol University International College
25. นายไชยวิทย์ ดาราประดิษฐ์ (วิทย์) สาขาการตลาดและโลจิสติกส์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี (ปี3) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย





Rabbitinthemoon.org | มูลนิธิกระต่ายในดวงจันทร์