ลงทะเบียนใหม่สำหรับเข้าเว็บไซต์
|
เข้าสู่ระบบ
รู้จักเรา
ความเป็นมาเป็นไป
ปรัชญาองค์กร
ชาวกระต่ายในดวงจันทร์
ความเป็นมาเป็นไป
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว
ชายคนหนึ่งกับชาวเขาอีกครอบครัวหนึ่งช่วยกันย้ายต้นกล้าเล็กๆ ให้พ้นจากทางที่รถชักลากซุงจะมาบด ทับ เพื่อให้ต้นกล้ามีโอกาสเติบโตเป็นสมาชิกส่วนหนึ่งของ
“ป่าต้นน้ำเขากระโจม”
นั่นคือจุดเริ่มต้น เวลาผ่านไป... เมื่อความงดงามและอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าเริ่มมีอาการป่วย เพราะพิษจากไฟป่า และการ ฉกฉวยทรัพยากรธรรมชาติโดยไม่คำนึงถึงการเสียสมดุลของระบบนิเวศ จากการดูแลต้นกล้าเล็กๆ บ่มเพาะจน เป็นความตั้งใจอันแรงกล้าว่า จะดูแลฟื้นฟูผืนป่า ชายคนนั้น กับกลุ่มเพื่อน โดยทุนส่วนตัว กับการลงแรงแบบ คนละไม้ละมือ
ระยะเวลากว่า 9 ปี ของการทำงานบริเวณพื้นที่เขากระโจม ชุมชนบ้านผาปกค้างคาว ตำบลสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี บทเรียนจากธรรมชาติ ชุมชน และผู้คน ทำให้พวกเขาเรียนรู้ว่า การดูแลฟื้นฟูสภาพป่าเป็นเพียงการ แก้ปัญหาที่ปลายเหตุ และงานพิทักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นงานที่ไม่สามารถสำเร็จได้โดยคนๆ เดียวหรือกลุ่มเล็กๆ เพียง กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
และแม้ว่าผู้คนในเมืองใหญ่จะอยู่อาศัยไกลจากผืนป่าและธรรมชาติ แต่แน่นอนว่าทุกชีวิตบนโลกนี้ ต่างมี ส่วนได้ส่วนเสีย เป็นสาเหตุ และได้รับผลกระทบอยู่ในระบบความสัมพันธ์เดียวกันทั้งสิ้น และด้วยเพราะการขาด ความรู้(รู้จัก รู้ใช้ รู้รักษา)ความเข้าใจในวิถีการดำเนินชีวิตที่เป็นมิตรกับธรรมชาติของคนเรา ปัญหาสิ่งแวดล้อม ต่างๆ จึงเกิดขึ้น
ดังนั้นการสร้างกระบวนการเรียนรู้และปลูกจิตสำนึกรักสิ่งแวดล้อมเพื่อนำไป สู่พฤติกรรมที่เป็น มิตรต่อสิ่งแวดล้อมจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะกับเด็กและเยาวชนซึ่งเป็นอนาคตของชาติ
พ.ศ.2543
มูลนิธิกระต่ายในดวงจันทร์
ได้จัดตั้งขึ้น โดยมีป่าต้นน้ำเขากระโจมและชุมชนผาปกค้างคาว ตำบลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี เป็นหนึ่งพื้นที่การทำงานสำหรับตรวจสอบองค์ความรู้ และติดตาม ความเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม เกิดเป็นโครงการในชุมชน ดังนี้
โครงการเพื่อการป้องกันปัญหาที่ต้นเหตุ ด้วยการปลูกจิตสำนึกรักษ์ธรรมชาติ ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ ธรรมชาติด้วยวิธีการทางศิลปะให้กับนักเรียน อ.1-ป.6 โรงเรียนสินแร่สยาม ซึ่งเป็นโรงเรียนในชุมชนดังกล่าว ที่ติด กับผืนป่าต้นน้ำเขากระโจม ได้แก่
โครงการศึกษาธรรมชาติโดยศิลปวิธ
ี,
โครงการเด็กสร้างสื่อ สื่อสร้างเด็ก
และ
โครงการดนตรีรักษ์สิ่งแวดล้อม
(ปัจจุบันได้ยุติโครงการนี้แล้ว)
โครงการเพื่อชะลอปัญหาและเพื่อพัฒนาชุมชน ได้แก่
โครงการสร้างอาชีพชุมชน
โดยการฝึกอาชีพงาน ฝีมือที่นำเสนอความงามในธรรมชาติผ่านงานเย็บปักถักร้อยบนผืนผ้าให้กับกลุ่มแม่บ้านในชุมชน จนปัจจุบันได้ เกิดเป็นกลุ่มแม่บ้าน “ต้นผึ้ง” โดยมีสมาชิกกว่า 15 คน และสร้างผลงานปักที่ปราณีตอย่างต่อเนื่อง ผลิตภัณฑ์ งานฝีมือดังกล่าวได้เริ่มเป็นที่รู้จักในสังคมมากยิ่งขึ้น และเกิดสโลแกนประจำกลุ่มแม่บ้าน "ต้นผึ้ง" ว่า "ปักเพื่อป่า" โดยรายได้ส่วนหนึ่งจากโครงการนี้ กลุ่มแม่บ้านได้นำมาสนับสนุนโครงการศึกษาธรรมชาติโดยศิลปวิธี ให้กับเด็ก ในชุมชนตนเองอีกทีหนึ่ง
และโครงการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ปลายเหตุ คือ โครงการป้องกันและดับไฟป่าเขากระโจม โดยมูล นิธิฯ ได้ดำเนินโครงการป้องกันและดับไฟป่าเขากระโจมมาตั้งแต่ปี 2544-2547 เป็นเวลา 4 ปี บัดนี้ โครงการ ป้องกันและดับไฟป่าเขากระโจมเปลี่ยนเจ้าภาพจากมูลนิธิกระต่ายในดวงจันทร์ไปเป็นชุมชนเอง โดยมีการพูดคุย เมื่อปลายปี 2547 และดำเนินการในปี 2548 ถัดมา และมูลนิธิฯขยับบทบาทมาเป็นผู้สนับสนุน สำหรับโครงการในระดับประเทศ ได้เริ่มเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2545 คือ
โครงการ Kids
เอง ที่มีเป้า หมายเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนได้ลงมือดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง โดยชักชวนเด็กๆ ทั่วประเทศร่วมกัน ปิดไฟตอน 2 ทุ่ม เป็นเวลา 5 นาที ผลจากปฏิบัติการดังกล่าว มูลนิธิฯ ได้เห็นถึงพลังของเด็กไทยกว่า 5,000 คนทั่ว ประเทศที่เข้าร่วมโครงการ และเด็กอีกหลายสิบคนที่แสดงเจตนาที่จะเข้าร่วมปฏิบัติการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างต่อ เนื่องต่อไป
มูลนิธิฯ จึงได้เกิด
โครงการ Key Camp
ค่ายเพื่อพัฒนาศักยภาพเยาวชนแกนนำ (ระดับมัธยมศึกษา) ให้ เกิดความรู้ความสามารถเพื่อการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างสร้างสรรค์ และ Keep ซึ่งเป็นแบบฝึกหัดต่อเนื่อง ให้เด็กๆ ได้ลงมือทำโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อมด้วยตนเอง ที่นอกจากช่วยให้เขา
“คิดเป็น”
แล้ว ยัง
“ทำเป็น”
อีกด้วย และเพื่อให้เด็กๆ ในเมืองใหญ่ได้มีโอกาสรู้จักธรรมชาติมากขึ้น จึงเกิด โครงการกระต่ายตื่นตัว ซึ่งเป็น กิจกรรมเรียนรู้ธรรมชาติในรูปแบบค่าย 5 วัน 4 คืนบ้าง 3 วัน 2 คืนบ้าง ให้เด็กๆ ในเมืองใหญ่ (8-12 ขวบ) ได้ตื่น ตัวที่จะรู้จักธรรมชาติมากขึ้นและได้รับความสุขจากธรรมชาติโดยตรงโดยผ่านกิจกรรมทางศิลปะต่างๆ เป็นเครื่อง มือ
หลังจากที่ได้ทำกระบวนการเพื่อการรับรู้ เรียนรู้ และสร้างเจตคติที่ดีต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้กับ เด็กทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษามากว่า 10 ปี องค์ความรู้ของกระบวนการเหล่านี้ทำให้เราได้เรียนรู้ ว่าภารกิจที่มูลนิธิฯ ได้ดำเนินมานั้นแม้จะเป็นไปอย่างถูกทิศทาง ด้วยสิ่งที่เด็กและเยาวชนได้จากการเข้าร่วม กระบวนการดังกล่าวเป็นการเสริมสร้างการคิด การตระหนักและการเห็นความสำคัญของธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อม อีกทั้งความรู้ต่างๆ ที่เด็กและเยาวชนได้รับยังเป็นการต่อยอดการเรียนรู้หลักในโรงเรียนได้อีกด้วย แต่สิ่ง สุดท้ายที่ยังขาดพร่องไปคือ การนำปัญหาสิ่งแวดล้อมมาเป็นปัญหาของตัวเองได้ จนนำไปสู่การถ่ายทอดหรือการ ลงมือปฏิบัติอย่างแท้จริงที่ไม่ใช่เพียงแบบฝึกหัด
องค์ความรู้จากการทำงานให้กับกลุ่มเป้าหมายทั้งเด็กประถมและมัธยม จึงเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่ ทำให้ โครงการ Hatch-U ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายคือเยาวชนระดับอุดมศึกษาได้เกิดขึ้น โดยในปี พ.ศ.2552 ได้เกิด สมาชิกระดับอุดมศึกษา รุ่นที่ 1 จากหลากหลายมหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ เข้าร่วม และกำหนดเป้าหมายให้ เยาวชนระดับอุดมศึกษา ได้เข้าถึงความจริง ความงาม และปัญหาสิ่งแวดล้อมผ่านประสบการณ์ตรงของตนเอง เกิดเป็นสำนึกของการอยู่รอด อยู่ร่วม อยู่รวม และช่วยให้พวกเขามั่นใจได้ว่า เมื่อเขาก้าวสู่โลกกว้างของการ ทำงาน เขาจะไม่เป็นผู้ที่ทำลายโลกใบนี้
เพราะเราเชื่อว่า การบ่มเพาะ และการโอบอุ้มเมล็ดพันธ์ุ ภายใต้บรรยากาศที่ดี ที่เป็นสุข...จะทำให้ป่าและ ธรรมชาติกลับคืนมา การปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและความรักในธรรมชาติ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะ ช่วยให้มนุษย์และสิ่งแวดล้อมอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน
จิตสำนึกต้องการเวลา จะปลูก จะเพาะ ต้องรดน้ำ ต้องรอเติบโต
Rabbitinthemoon.org | มูลนิธิกระต่ายในดวงจันทร์
www.Stats.in.th