กลุ่มเป้าหมาย: นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย / อุดมศึกษา / คนทำงาน
โครงการน้องใหม่ ที่เพิ่งเกิด แต่ประสบการณ์เพียบ เพราะเป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของโครงการ Key Camp และโครงการ Hatch-U โดยคาดหวังให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการทำงานได้สูงสุด และมีเป้าหมายท่ีมุ่งให้บุคคลเข้าใกล้คำว่า ได้มากที่สุด กายามายาจึงดึงเอาจุดดีจุดเด่นจากกิจกรรมของทั้ง 2 โครงการ มาผนวกกัน โดยวางลำดับตามธรรมชาติของการเรียนรู้ของมนุษย์เข้ากับเวลาที่เหมาะสมในธรรมชาติ จัดวางให้เหมาะเจาะลงตัว เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายในหลายระดับวัยนี้ ได้มีประสบการณ์การเข้าถึงธรรมชาติที่ละเอียดอ่อนและหลากหลายมากขึ้น
มูลนิธิกระต่ายในดวงจันทร์ ทำโครงการกายามายา เพื่อชักชวนบุคคลหรือผู้สนใจที่จะเป็นผู้ดูแลธรรมชาติหรือโลกใบนี้ที่เราอยู่ร่วมกัน ให้ได้รู้จักโลกหรือธรรมชาติอย่างที่เป็น ไม่ได้จากการเชื่อหรือการคิดเอา เพราะเมื่อเราได้ 'เห็น' ความจริงของโลกอย่างที่เป็น จะช่วยให้การลงมือช่วยกันดูแลโลกใบนี้ เป็นไปบนพื้นฐานที่เป็นจริงได้
และการ ธรรมชาติอย่างที่เป็นได้นั้น ก็มาจากการได้สัมผัสธรรมชาติและโลกรอบตัวแบบไม่พกพาความจำหรือความรู้เชิงวิชาการติดตัวมาด้วย แต่ใช้ความรู้สึกและประสาทสัมผัสที่ตัวเองมี ผ่านกระบวนการร่วมกันเรียนรู้ ที่จะทำให้เราได้สิ่งที่เราเชื่อว่าจริง กับ ความจริงที่ธรรมชาติเป็นอยู่ ว่าเป็นอย่างไร
|
คือ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจริง
ที่ปลอดจากการคิดเอา
คือ ความต่างๆ ที่ควรจะรู้
คือ ความเบิกบาน ความยินดีที่จะฝืน
(การฝึกตน) ยินดีไปสู่การที่จะได้รู้
คือ ปัญญา ซึ่งในที่นี้ เห็นได้จาก Creativity |
เพื่อให้เกิดความเข้าใจแนวความคิดนี้ได้ชัดเจนมากขึ้นและตรงกัน อาจจะต้องอาศัยการทำความเข้าใจถึงนิยามของคำว่า "งาม" ร่วมด้วย ว่า
- รับรู้ได้ในมนุษย์เท่านั้น
- การเข้าใจเหตุปัจจัย และคลายจากการยึดได้
- เป็นความบริสุทธิ์ใจ / การถ่ายทอดด้วยความบริสุทธิ์ใจ
- เป็นนามธรรม แต่ใช้รูปธรรมเป็นตัวตัดสิน
- เป็นสิ่งที่ไหลเลื่อนเปลี่ยนแปลงได้ตามบริบท
- ไม่สามารถครอบครองได้ 'เพราะไม่ครอบครองเราจึงมี'
- งามหรือสุข เป็นผลที่เกิดขึ้นข้างใน แต่ส่งผลต่อภายนอกได้ (ผู้ที่อยู่ใกล้ก็รู้สึกได้)
โดยมีกระบวนการเรียนรู้ ผ่านการฟัง การเห็น การพูด การคิด และการลงมือปฏิบัติ ทั้งหมดนี้ เราใช้รวมความว่า ประสบการณ์ตรง (First-Hand Experience) และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Sharing) ที่เกิดผลเป็น ความคิดใหม่ (Creativity) ที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคมได้
|
1. สนใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ และอยากร่วมดูแลธรรมชาติหรือโลกใบนี้ (แบบที่เป็นตัวเอง)
2. มีวิญญาณของการมอง "ทุกอย่างเป็นการเรียนรู้" เป็นทุนตั้งต้น
3. เห็นว่าโครงการนี้จะเป็นโอกาสที่ดีในการ "ฝึกฝนตนเอง" ให้เข้าถึง "ให้งาม" ได้ (ให้งาม หมายถึง 'การทำให้ตนเองมีใจที่งาม' ไปจนถึง 'การทำหรือให้สิ่งที่งามแก่ผู้อื่น')
(สนใจภารกิจ "ให้งาม" ดูรายละเอียดได้ที่หน้า รู้จักกัน)
4. ท้าทายที่จะสร้างสรรค์ผลงานทางความคิดของตนเองด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สู่สังคม
การเรียนรู้ที่ 1 : Input ผ่านกิจกรรม Foundation และ Practice (ผู้เข้าร่วมดูแลค่าใช้จ่ายของตนเอง)
1. กิจกรรม Foundation คือ การเข้าไปรับประสบการณ์ตรงในพื้นที่ทางธรรมชาติ
เป็นช่วงของการเข้าไปรับประสบการณ์ตรงในพื้นที่ทางธรรมชาติต่างๆ เปิดโอกาสให้ตนเองได้ใช้ประสาทสัมผัส สัมผัสความจริงและความงามในธรรมชาติ ตามฤดูกาลและสถานที่ที่เหมาะต่อการเรียนรู้ธรรมชาติของโลกและตนเอง "โครงการดวงจันทร์โคจร" ทุกเดือนๆ ละ 1 ทริป ตามพื้นที่ทางธรรมชาติต่างๆ ทั่วประเทศไทย
2. กิจกรรม Practice คือ การเรียนรู้อยู่ร่วมตามวิถีชีวิตของปราชญ์ (Master) โดยเฉพาะทางด้านธรรมชาติ ผ่านงานวิชาการ(นักวิจัย) และวิถี(ปราชญ์ชาวบ้าน) โดยสามารถเลือกที่จะไปเรียนรู้อยู่ร่วมกับปราชญ์ ทั้ง 2 ด้านตามช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ฝึกงานของแต่ละท่าน (โปรดติดตามรายละเอียดของปราชญ์และช่วงเวลาที่เหมาะต่อการไปเรียนรู้ฝึกงานกับแต่ละท่านได้ ต้นปี 2555)
การเรียนรู้ที่ 2 : Output ผ่านกิจกรรม "การคิดสร้างสรรค์"
1. การสร้างสรรค์ (Creativity) คือ ช่วงเวลาของการตกผลึกทางความคิดของตนเองในประเด็นด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และลงมือปฏิบัติสร้างสรรค์ผลงาน "สื่อ" เช่น ภาพยนตร์ ภาพนิ่ง วรรณกรรม และดนตรี หรืออื่นๆ ที่ตรงตามความถนัด เพื่อถ่ายทอดแนวความคิดที่เป็นประโยชน์ต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสู่สาธารณะต่อไป โดยมูลนิธิฯ ประสาน Master ด้านการผลิตสื่อ และร่วมสนับสนุนองค์ความรู้และปัจจัยอื่นๆ เพื่อการสร้างสรรค์ผลงานของผู้เข้าร่วมโครงการฯ
2. นิทรรศการ (Exhibition) ในช่วงปลายปี 2555 ทางมูลนิธิกระต่ายในดวงจันทร์จะจัดงาน Exhibition เพื่อสื่อสารและถ่ายทอดแนวความคิดที่สร้างสรรค์ ในประเด็นเนื้อหาด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสู่สังคมต่อไป |
|
- โอกาสที่จะได้เกิดการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ เช่น ได้พบมาสเตอร์ด้านธรรมชาติ เป็นต้น
- ได้เข้าสู่สถานที่และเวลา ฤดูกาลที่พิเศษทางธรรมชาติ
- ได้พัฒนาศักยภาพการเข้าถึงความรู้ของตนเอง
- การสนับสนุนปัจจัยและกระบวนการเรียนรู้จากโครงการฯ
- เกิดผลงานทางความคิดของตนเอง
- ความรู้ใหม่ (รู้จักตนเอง รู้จักธรรมชาติ)
- ได้เพื่อนใหม่
- ได้แสดงผลงานทางความคิดของตนเองสู่สังคม
- ผลงานทางความคิดด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 20 ความคิด
- Exhibition สื่อสารผลงานทางความคิด
กลุ่มของสังคม (Community) ที่สนใจและสื่อสารงานด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสร้างสรรค์
|
|
|